วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กระบวนการมีส่วนร่วม
 
   กระบวนการมีส่วนร่วมนับเป็นหัวใจสําคัญของการพัฒนาในทุกระดับเป็นการเปิดโอกาสใหประชาชนร่วมคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การติดตามประเมินผลในกิจกรรม/โครงการของชุมชน เป็นการสร้าง ปลูกฝังจิตสํานึกในความเป็นเจ้าของกิจกรรมและโครงการ แนวคิดกระบวนการมีส่วนร่วม ปัจจุบัน แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา (People Paticipation for Development) ได้รับการยอมรับและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในงานพัฒนาทุกภาคส่วนหรือในลักษณะเบญจภาคี ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และประชาชน รวมพลังกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ความหมายของการมีส่วนร่วม Cemer (Priticia Lundy, 1999, หน้า 125) กล่าวว่า "การให้โอกาสให้ประชาชนเป็นฝ่ายตัดสิน กําหนดความต้องการของตนเองเป็นการเสริมพลังอํานาจใหประชาชน ระดมขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากร การตัดสินใจ และควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับการพัฒนาเพียงฝ่ายเดียว" (กระบวนการและเทคนิคการทํางานของนักพัฒนา หน้า 196) สําหรับสายทิพย์ สุคติพันธ์ (2534 หน้า 92) กล่าวว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงกลไกในการพัฒนาจากการพัฒนาโดยรัฐ มาเป็นการพัฒนาที่ประชาชนมีบทบาทหลัก การมีส่วนร่วมของประชาชน จึงหมายถึงการคืนอํานาจ (Empowerment) ในการกําหนดการพัฒนาใหประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการริเริ่มและดําเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่การพัฒนา การแก้ไขปัญหา การกําหนดอนาคตของประชาชนเอง การมีส่วนร่วมของ HO (1983 หน้า 32) ให้ความเห็นว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนควรมีเนื้อหาประกอบด้วย 1. การเน้นคุณค่าการวางแผนระดับท้องถิ่น 2. การใช้เทคโนโลยี/ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น 3. การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชนให้สามารถดําเนินการพัฒนาด้วยตนเองได้ 4. การแก้ไขปัญหาของความต้องการพื้นฐานโดยสมาชิกชุมชน 5. การเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามแบบประเพณีดั้งเดิม 6. การใช้วัฒนธรรมและการสื่อสารที่สอดคล้องกับการพัฒนาโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค?และความชํานาญของประชาชนร่วมกับวิทยากรที่เหมาะสมและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น